การใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
1.
หลักการเลือกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
เลือกใช้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับหน่วยงาน
คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ องค์กรต่างๆ
และธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ โดยเลือกใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับหน่วยงานหรือองค์กรนั้น
ระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้คือ ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์พีซีซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
จนสามารถตอบสนองความต้องการได้ ในราคาที่ถูกลง ค่าบำรุงรักษาต่ำ การใช้งานสะดวกขึ้นและ
มีซอฟต์แวร์สำเร็จรูปให้เลือกใช้งานจำนวนมาก จึงมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ
ในวันนี้จะกล่าวถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาทั้งในสถานศึกษาและการศึกษาด้วยตนเอง
มีโปรแกรมด้านการศึกษา ประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากให้ผู้สนใจ
ได้เลือกศึกษาตามความต้องการ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนและเป็นการทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
ทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันการสื่อสารกว้างไกลขึ้นทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีมากยิ่งขึ้น
สามารถศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันสนับสนุน
ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้จากอินเตอร์เน็ต
จะช่วยให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สถานศึกษายังนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบริหารทั่วไปเช่น งานบุคลากร งานการเงิน งานบัญชี งานพัสดุครุภัณฑ์
งานประชาสัมพันธ์ งานการจัดการบริหารการศึกษา เช่น งานทะเบียนนักศึกษา การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา
การตรวจสอบความถูกต้องในการลงทะเบียนรายวิชาง่ายขึ้น ช่วยให้การรายงานผลการเรียนของนักศึกษาจำนวนมาก
ทำได้ถูกต้องในเวลารวดเร็ว งานแนะแนวการศึกษาและอาชีพ งานพัฒนาวินัยงานกิจกรรมนักศึกษาเป็นต้น
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้ในระบบงาน ต้องสามารถรองรับการขยายตัวของระบบงานได้ในอนาคต
เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและรวดเร็วมาก การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
ต้องพิจารณาจากงานในธุรกิจนั้น แนวโน้มของธุรกิจในอนาคต สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง
สามารถเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น LAN (Local Area Network) และเชื่อมต่อกันเป็นระบบ WAN (Wide Area Network)
โดยผ่านระบบการสื่อสารแบบต่างๆ เช่น ดาวเทียม คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ ฯลฯ และเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลได้ด้วย เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง
2. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง มีระบบการเก็บข้อมูลที่ดีกว่าไมโครคอมพิวเตอร์
จึงเหมาะกับข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยนัก ราคาเครื่องสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์
3. เมนเฟรม (Mainframe) และ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่
ทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง มีการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน รวดเร็วมาก ประสิทธิภาพสูง ราคาแพง
ต้องใช้สถานที่และสภาพแวดล้อมที่ออกแบบเป็นพิเศษ ควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น
วิธีการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์
การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์มี 3 วิธีคือ
1. ระบบจัดซื้อ (Buying) เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่นถ้าใช้เครื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
สามารถใช้เครื่องได้เต็มที่นานเท่าที่ต้องการ ข้อเสียคือ ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเครื่องและเสี่ยงต่อการล้าสมัยง่าย
เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนารวดเร็วมาก
2. ระบบการเช่า (Renting) เป็นวิธีที่แพงที่สุดถ้าต้องเช่าติดต่อกันนานหลายปี แต่ผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่ในครั้งแรก
ลดความเสี่ยงในเรื่องล้าสมัย สามารถเปลี่ยนระบบได้เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ไม่ต้องมีค่าบำรุงรักษา รวมอยู่ในค่าเช่าแล้ว
การใช้ระบบนี้ต้องรอบคอบในเรื่องของเงื่อนไขในสัญญาเช่าทั้งในส่วนของสเปคของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้เช่าและการให้บริการบำรุงรักษา
3. ระบบเช่าซื้อ (Leasing) เป็นระบบผ่อนชำระค่าเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ถูกกว่าการเช่าแต่แพงกว่าการซื้อ
เพราะรวมค่าบำรุงรักษาเครื่องไว้ด้วย ผู้เช่าซื้อต้องผูกพันต่อสัญญาถ้าเลิกเช่าซื้อก่อนครบกำหนดอาจจะต้องเสียค่าปรับ
โดยค่าเช่าซื้อมักจะลดลงตามระยะเวลาการใช้ ระหว่างการใช้งานผู้มีสิทธิครอบครองจนกว่าจะผ่อนชำระครบ
หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. งบประมาณในการจัดซื้อ
2. ประเภทของงานที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้
3. สมรรถนะของเครื่อง
4. ความสามารถในการ Upgrade ในอนาคต
รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หลัก ๆ โดยทั่วไปมีดังนี้
1. รุ่นและความเร็วในการประมวลผลของ CPU
2. ชนิดและขนาดของหน่วยความจำ RAM
3. ขนาดของหน่วยความจำแคช (Cache Lever 2)
4. ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
คอมพิวเตอร์พีซีโดยทั่วไปในปัจจุบัน เป็นระบบมัลติมีเดีย สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
การพิจารณารายละเอียดของเครื่องควรดูที่ความเหมาะสมในการนำมาใช้งานมากกว่าการตัดสินใจซื้อตามแฟชั่นหรือ
การเลือกซื้อรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อให้เป็นคนทันสมัย ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายแพงเพราะอีกไม่นานก็จะตกรุ่น ราคาก็จะลดลงมาด้วย
และยังเสี่ยงต่อความไม่สมบูรณ์ของเครื่อง เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดในการผลิต จะต้องมีการปรับปรุงอีก
เทคนิคของการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ควรซื้อเครื่องในรุ่นที่ต่ำกว่ารุ่นที่ออกใหม่ 1 รุ่น จะได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในราคาถูก
การเลือกโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเลือกโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมแรกคือระบบปฏิบัติการ ต้องให้เหมาะสมกับระบบคอมพิวเตอร์
และต้องเป็นโปรแกรมที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เช่น วินโดว์ 9x ขึ้นไป หรือ โปรแกรมฟรี เช่น ลีนุกซ์ เป็นต้น
จากนั้นเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับงาน การจัดหาโปรแกรมมี 3 วิธีคือ
1. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน
สามารถเลือกซื้อใช้ได้ตามความต้องการ เช่น สำหรับสำนักงาน (Office) ประกอบด้วย
โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing: MS-Word) โปรแกรมตารางทำงาน (Spread sheet: Excel, Lotus1-2-3)
โปรแกรมเสนองาน(Presentation: PowerPoint) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Data Base: Access, dBase, FoxBASE, FoxPro)
2. โปรแกรมประยุกต์ (Application Program: User Program) หมายถึงโปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้เองตามความต้องการ
เพื่องานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมสำหรับระบบงานบัญชี โปรแกรมสำหรับงานการเรียนการสอน เป็นต้น
ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้อาจใช้โปรแกรมเมอร์ขององค์กรเขียนขึ้นหรือว่าจ้างบริษัทรับจ้างเขียนโปรแกรม ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า
การซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ แต่จะตรงกับความต้องการมากกว่า
3. โปรแกรมที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ (Program Tools) ได้แก่ โปรแกรมประเภท CASE เช่น Excelerator
ซึ่งโปรแกรมเมอร์ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบงาน
ขั้นตอนในการเลือกโปรแกรมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานมีดังนี้
1. ตรงกับความต้องการ (Requirement) สามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
2. มีประสิทธิภาพ (Performance) สามารถจัดการกับข้อมูลได้ดี การแสดงผล การประมวลผลรวดเร็วและถูกต้อง
3. ง่ายต่อการใช้งาน (Easy to use) สามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้ง่าย ในระยะเวลาอันสั้น และมีเมนูช่วยเหลือ (Help menu)
ในระหว่างการใช้งาน
4. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันสามารถรับส่งข้อมูลกับโปรแกรมอื่น ๆ
ได้ รวมทั้งสามารถใช้งานกับอุปกรณ์แสดงผลได้หลายชนิด เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
5. คู่มือการใช้งานที่มีคุณภาพ (Quality of Documentation) ต้องสามารถอธิบายหรือให้คำแนะนำต่อผู้ใช้งานเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ช่วยให้แก้ไขปัญหาได้เมื่อปฏิบัติตาม
6. การรับรองผลิตภัณฑ์ (Manufacture Support) ผู้ผลิตหรือผู้ขายรับรองผลิตภัณฑ์ของตน บริการให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์
แจ้งข่าวสารการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้บริการ Upgrade ฟรีเป็นต้น
การใช้โปรแกรมควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง โดยการนำข้อมูลจริงบันทึกลงบนโปรแกรมนั้น หลังจากประมวลผลแล้ว
ดูผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องตรงกับความต้องการหรือไม่
คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานราชการ องค์กรต่างๆ
และธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ โดยเลือกใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับหน่วยงานหรือองค์กรนั้น
ระบบคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้คือ ไมโครคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์พีซีซึ่งได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
จนสามารถตอบสนองความต้องการได้ ในราคาที่ถูกลง ค่าบำรุงรักษาต่ำ การใช้งานสะดวกขึ้นและ
มีซอฟต์แวร์สำเร็จรูปให้เลือกใช้งานจำนวนมาก จึงมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านต่าง ๆ
ในวันนี้จะกล่าวถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา
การใช้คอมพิวเตอร์ในวงการศึกษา
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในวงการศึกษาทั้งในสถานศึกษาและการศึกษาด้วยตนเอง
มีโปรแกรมด้านการศึกษา ประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากให้ผู้สนใจ
ได้เลือกศึกษาตามความต้องการ ช่วยให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนและเป็นการทบทวนความรู้ที่เรียนมาแล้ว
ทำให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันการสื่อสารกว้างไกลขึ้นทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษามีมากยิ่งขึ้น
สามารถศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งการศึกษาในปัจจุบันสนับสนุน
ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้จากอินเตอร์เน็ต
จะช่วยให้เกิดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้สถานศึกษายังนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบริหารทั่วไปเช่น งานบุคลากร งานการเงิน งานบัญชี งานพัสดุครุภัณฑ์
งานประชาสัมพันธ์ งานการจัดการบริหารการศึกษา เช่น งานทะเบียนนักศึกษา การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา
การตรวจสอบความถูกต้องในการลงทะเบียนรายวิชาง่ายขึ้น ช่วยให้การรายงานผลการเรียนของนักศึกษาจำนวนมาก
ทำได้ถูกต้องในเวลารวดเร็ว งานแนะแนวการศึกษาและอาชีพ งานพัฒนาวินัยงานกิจกรรมนักศึกษาเป็นต้น
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้ในระบบงาน ต้องสามารถรองรับการขยายตัวของระบบงานได้ในอนาคต
เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและรวดเร็วมาก การเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
ต้องพิจารณาจากงานในธุรกิจนั้น แนวโน้มของธุรกิจในอนาคต สิ่งที่ควรพิจารณาคือ
1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง
สามารถเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น LAN (Local Area Network) และเชื่อมต่อกันเป็นระบบ WAN (Wide Area Network)
โดยผ่านระบบการสื่อสารแบบต่างๆ เช่น ดาวเทียม คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ ฯลฯ และเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
ซึ่งเป็นเครือข่ายสากลได้ด้วย เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพง
2. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง มีระบบการเก็บข้อมูลที่ดีกว่าไมโครคอมพิวเตอร์
จึงเหมาะกับข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อยนัก ราคาเครื่องสูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์
3. เมนเฟรม (Mainframe) และ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่
ทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง มีการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน รวดเร็วมาก ประสิทธิภาพสูง ราคาแพง
ต้องใช้สถานที่และสภาพแวดล้อมที่ออกแบบเป็นพิเศษ ควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น
วิธีการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์
การจัดหาระบบคอมพิวเตอร์มี 3 วิธีคือ
1. ระบบจัดซื้อ (Buying) เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับวิธีอื่นถ้าใช้เครื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน
สามารถใช้เครื่องได้เต็มที่นานเท่าที่ต้องการ ข้อเสียคือ ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเครื่องและเสี่ยงต่อการล้าสมัยง่าย
เนื่องจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนารวดเร็วมาก
2. ระบบการเช่า (Renting) เป็นวิธีที่แพงที่สุดถ้าต้องเช่าติดต่อกันนานหลายปี แต่ผู้เช่าไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่ในครั้งแรก
ลดความเสี่ยงในเรื่องล้าสมัย สามารถเปลี่ยนระบบได้เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ไม่ต้องมีค่าบำรุงรักษา รวมอยู่ในค่าเช่าแล้ว
การใช้ระบบนี้ต้องรอบคอบในเรื่องของเงื่อนไขในสัญญาเช่าทั้งในส่วนของสเปคของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้เช่าและการให้บริการบำรุงรักษา
3. ระบบเช่าซื้อ (Leasing) เป็นระบบผ่อนชำระค่าเครื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ถูกกว่าการเช่าแต่แพงกว่าการซื้อ
เพราะรวมค่าบำรุงรักษาเครื่องไว้ด้วย ผู้เช่าซื้อต้องผูกพันต่อสัญญาถ้าเลิกเช่าซื้อก่อนครบกำหนดอาจจะต้องเสียค่าปรับ
โดยค่าเช่าซื้อมักจะลดลงตามระยะเวลาการใช้ ระหว่างการใช้งานผู้มีสิทธิครอบครองจนกว่าจะผ่อนชำระครบ
หลักการเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. งบประมาณในการจัดซื้อ
2. ประเภทของงานที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้
3. สมรรถนะของเครื่อง
4. ความสามารถในการ Upgrade ในอนาคต
รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หลัก ๆ โดยทั่วไปมีดังนี้
1. รุ่นและความเร็วในการประมวลผลของ CPU
2. ชนิดและขนาดของหน่วยความจำ RAM
3. ขนาดของหน่วยความจำแคช (Cache Lever 2)
4. ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
คอมพิวเตอร์พีซีโดยทั่วไปในปัจจุบัน เป็นระบบมัลติมีเดีย สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
การพิจารณารายละเอียดของเครื่องควรดูที่ความเหมาะสมในการนำมาใช้งานมากกว่าการตัดสินใจซื้อตามแฟชั่นหรือ
การเลือกซื้อรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อให้เป็นคนทันสมัย ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายแพงเพราะอีกไม่นานก็จะตกรุ่น ราคาก็จะลดลงมาด้วย
และยังเสี่ยงต่อความไม่สมบูรณ์ของเครื่อง เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดในการผลิต จะต้องมีการปรับปรุงอีก
เทคนิคของการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ควรซื้อเครื่องในรุ่นที่ต่ำกว่ารุ่นที่ออกใหม่ 1 รุ่น จะได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในราคาถูก
การเลือกโปรแกรมคอมพิวเตอร์
การเลือกโปรแกรมสำหรับคอมพิวเตอร์ โปรแกรมแรกคือระบบปฏิบัติการ ต้องให้เหมาะสมกับระบบคอมพิวเตอร์
และต้องเป็นโปรแกรมที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เช่น วินโดว์ 9x ขึ้นไป หรือ โปรแกรมฟรี เช่น ลีนุกซ์ เป็นต้น
จากนั้นเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับงาน การจัดหาโปรแกรมมี 3 วิธีคือ
1. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน
สามารถเลือกซื้อใช้ได้ตามความต้องการ เช่น สำหรับสำนักงาน (Office) ประกอบด้วย
โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing: MS-Word) โปรแกรมตารางทำงาน (Spread sheet: Excel, Lotus1-2-3)
โปรแกรมเสนองาน(Presentation: PowerPoint) โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Data Base: Access, dBase, FoxBASE, FoxPro)
2. โปรแกรมประยุกต์ (Application Program: User Program) หมายถึงโปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้เองตามความต้องการ
เพื่องานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมสำหรับระบบงานบัญชี โปรแกรมสำหรับงานการเรียนการสอน เป็นต้น
ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้อาจใช้โปรแกรมเมอร์ขององค์กรเขียนขึ้นหรือว่าจ้างบริษัทรับจ้างเขียนโปรแกรม ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่า
การซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ แต่จะตรงกับความต้องการมากกว่า
3. โปรแกรมที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบ (Program Tools) ได้แก่ โปรแกรมประเภท CASE เช่น Excelerator
ซึ่งโปรแกรมเมอร์ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบงาน
ขั้นตอนในการเลือกโปรแกรมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานมีดังนี้
1. ตรงกับความต้องการ (Requirement) สามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
2. มีประสิทธิภาพ (Performance) สามารถจัดการกับข้อมูลได้ดี การแสดงผล การประมวลผลรวดเร็วและถูกต้อง
3. ง่ายต่อการใช้งาน (Easy to use) สามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้ง่าย ในระยะเวลาอันสั้น และมีเมนูช่วยเหลือ (Help menu)
ในระหว่างการใช้งาน
4. มีความยืดหยุ่น (Flexibility) สามารถใช้ได้กับระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันสามารถรับส่งข้อมูลกับโปรแกรมอื่น ๆ
ได้ รวมทั้งสามารถใช้งานกับอุปกรณ์แสดงผลได้หลายชนิด เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์
5. คู่มือการใช้งานที่มีคุณภาพ (Quality of Documentation) ต้องสามารถอธิบายหรือให้คำแนะนำต่อผู้ใช้งานเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
ช่วยให้แก้ไขปัญหาได้เมื่อปฏิบัติตาม
6. การรับรองผลิตภัณฑ์ (Manufacture Support) ผู้ผลิตหรือผู้ขายรับรองผลิตภัณฑ์ของตน บริการให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์
แจ้งข่าวสารการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้บริการ Upgrade ฟรีเป็นต้น
การใช้โปรแกรมควรมีการตรวจสอบความถูกต้อง โดยการนำข้อมูลจริงบันทึกลงบนโปรแกรมนั้น หลังจากประมวลผลแล้ว
ดูผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องตรงกับความต้องการหรือไม่
หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์
คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์
จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง
การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง
ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์
เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน
ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย
เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์
ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน
บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว
คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย
คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น
การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น
และมีความสำคัญมาก
และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน
มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ
การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง
จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว
เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน
เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม
จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า
ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์
รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที
แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก
จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ
ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย
บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน
แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง
แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง
ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น
ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม
ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย
ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ
หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน
พอแบ่งแยกซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์
(application software)
- ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ
หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ
ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น
รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์
จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที
โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ
คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้
ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น
ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ
§
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ
ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก
การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย
เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ
และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า
หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น
ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ
หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
1.
ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น
รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์
ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
2.
ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
3.
ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น
การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป
แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และตัวแปลภาษา
ซอฟต์แวร์ทั่งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น
·
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System
: OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk
Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู
(OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)
1) ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว
การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร
ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2) วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส
เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้
โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ
การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก
ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ
ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
3) โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส
แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม
เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกัน
และการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์
4) ยูนิกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์
ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน
และทำงานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน
ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่อปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน
ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์
วินโดว์สเอ็นที
·
ตัวแปลภาษา
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง
เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา
ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย
เข้าใจได้ ตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษาสำหรับแปลภาษา
ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบัน เช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก
ภาษาซี และภาษาโลโก
1) ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้าง
เขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นกระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้
2) ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก
สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย
มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้
3) ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ
ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้างคล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง
ๆ
4) ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโกได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก
นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว
ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน
ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี
การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการใช้งานคล่องตัวขึ้น
จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
การใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องมีซอฟตืแวร์ประยุกต์
ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น
หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
ซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน
·
ซอฟต์แวร์สำเร็จ
ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ
(package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก
ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย
เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก
ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (spread sheet software) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
(data base management software) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation
software) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (data communication
software)
1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร
สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี
เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้
การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ
เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม
ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น วินส์เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร
2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ
การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา
ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข
ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด
ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง
ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล
และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์
เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน
การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น เอกเซส
ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล
การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ
ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ
กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์
ฮาร์วาร์ดกราฟิก
5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล
โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้
สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล
อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม
เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้
ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก
·
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป
แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร
มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า
การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง
ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้น
ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน
ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี
ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ
ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก
ดังนั้นจึงต้องมีความต้องการผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง
ๆ อีกมากมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น